21 March, 2021

PM 2.5 ที่สูงขนาดนี้ การตรวจ DNA ช่วยคุณได้อย่างไร?

PM 2.5 ที่สูงขนาดนี้ อาจจะทำบางคนเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ และโรคปอดที่สูงกว่าปกติ
.
เช้านี้กรุงเทพและหลายจังหวัดในประเทศไทย กลับเข้ามาสู่เมืองในหมอกกันอีกครั้ง ด้วยค่าฝุ่นที่พุ่งเป็นอันดับ 4 ของโลก รองลงมาจาก บังคลาเทศ, อินเดีย, คีร์กีซสถาน ทำให้หลาย ๆ คนมีอาการทั้งภูมิแพ้ คัดจมูก ระคายเคือง ตาบวม รวมทั้งหอบหืดได้
.
PM 2.5 ที่เพิ่มมากขึ้นและมลภาวะทางอากาศต่าง ๆ สามารถส่งผลต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ โดยมีกลไกการเกิดโรคที่สำคัญคือการอักเสบ (inflammation) ของร่างกาย เพื่อตอบสนองต่อการสัมผัสมลภาวะ ส่งผลให้เกิดอัตราเต้นของหัวใจผิดปกติ หรือทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดได้ ซึ่งแต่ละคนจะมีอัตราการตอบสนองต่อการสัมผัสมลภาวะแล้วทำให้เกิดโรคหัวใจหรือไม่นั้น ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับพันธุกรรมของเราเอง
.
จากการศึกษาพบว่า การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมบางชนิดจะส่งผลต่อการเกิดการอักเสบของร่างกาย โดยยีนที่รับผิดชอบต่ออาการนี้คือ IL6 (Interleukin-6) ทำให้มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด หากสัมผัสกับมลภาวะทางอากาศเป็นระยะเวลานาน
.
ในขณะที่ยีนมีผลต่อโรคหอบหืดที่ถูกกระตุ้นด้วยมลภาวะคือ NQO1 ที่จะไปกระตุ้นให้ร่างกายเกิดอาการหอบหืด และกระตุ้นให้โรคหอบหืดเกิดอาการที่รุนแรงขึ้นได้ โดยกลไกคือสารมลพิษจะไปกระตุ้นการสร้างอนุมูลอิสระขึ้น ซึ่งถ้าอนุมูลอิสระมีปริมาณมากเกินไป หรือร่างกายเสียสมดุลในการกำจัดอนุมูลอิสระ จะส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการต่างๆขึ้นได้
.
แน่นอนว่า PM 2.5 ทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย แต่คุณเสี่ยงมากกว่าคนปกติอยู่หรือไม่ แล้วควรจะปรับการใช้ชีวิตอย่างไร  DNA เป็นหนึ่งในคำตอบนั้น
.
References
  1. Brook RD, Rajagopalan S, Pope CA 3rd, et al. Particulate matter air pollution and cardiovascular disease: An update to the scientific statement from the American Heart Association. Circulation. 2010;121(21):2331-2378.
  2. Xing YF, Xu YH, Shi MH, Lian YX. The impact of PM2.5 on the human respiratory system. J Thorac Dis. 2016;8(1):E69-E74.
Tag: genfosis, เจ็นโฟสิส, dna, ตรวจดีเอ็นเอ, ตรวจdna, ตรวจสุขภาพ, ตรวจพันธุกรรม, dnatesting, ฝุ่นpm2.5, PM 2.5